มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล

บทเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนและประชาชน

สารบัญบทเรียน


บทเรียนโดย

ศาสตราจารย์ นพ. ยง ภู่วรวรรณ

ราชบัณฑิต
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2540

รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ

รางวัลนักวิจัย ประดิษฐ์คิดค้น จากสภาวิจัยแห่งชาติ 7 ครั้ง
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2539 ผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มอ. มก. และ สพฐ.
ที่ปรึกษา คิวบิกครีเอทีฟ


เกี่ยวกับบทเรียน

โควิด 19 เป็นโรคติดต่อร้ายแรง รัฐบาลให้ความสำคัญในการวางมาตรการป้องกัน เพื่อลดและจำกัดการระบาด การวางมาตรการจัดการระบาดของโรคในครั้งนี้ มีผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ต้องปรับตัวอย่างมาก เช่น มาตรการ Social distancing ส่งผลกระทบการทำงาน การศึกษา การดำเนินวิถีชีวิตหลายอย่าง ต้องปรับเปลี่ยน มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น จนเป็นการปรับตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อลดการแออัด ฯลฯ โครงการความช่วยเหลือของรัฐบาลก็ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ เช่น การลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือจากผลกระทบโควิด 19 ในโครงการเราไม่ทิ้งกัน ลงทะเบียนเกษตรกร การใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เที่ยวด้วยกัน โครงการคนละครึ่ง เป็นต้น ประชาชนได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปจากเดิม เช่น การทำงานจากบ้าน การเรียนการศึกษาออนไลน์ การซื้อขายของบนแพลตฟอร์มดิจิทัล การใช้เงินแบบดิจิทัล สิ่งเหล่านี้เป็นวิถีใหม่ที่เริ่มคุ้นเคย

ชีวิตวิถีใหม่จึงเกี่ยวโยงกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จำเป็นต้องวางรากฐาน ความรู้ความเข้าใจ เพื่ออยู่กับโลกดิจิทัล มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต ที่เป็นการผสานการดำเนินชีวิตบนโลกกายภาพ (Physical) กับโลกเสมือนที่เรียกว่า โลกไซเบอร์ (Cyber) ที่มีแพลตฟอร์มการบริการแบบดิจิทัล (Digital service platform) ความสำคัญจึงอยู่ที่ประชาชนต้องพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะ และความฉลาดทางดิจิทัล เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

บทเรียนออนไลน์ที่จัดทำนี้ นอกจากให้ความสำคัญกับเรื่องชีวิตวิถีใหม่ ที่เกี่ยวโยงกับทักษะความฉลาดทางดิจิทัล และการเป็นพลเมืองดิจิทัลแล้ว ยังเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่เท่าทันต่อสื่อใหม่ (New media) ให้ความสำคัญในเรื่องการคิด การวิเคราะห์ ความเชื่อถือของแหล่งข้อมูล การประมวลผลข่าวสาร การแยกแยะและไม่หลงเชื่อข่าวปลอม และให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อดูแลปกป้องตัวเอง ดูแลข้อมูลส่วนตัว ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทั้งของตัวเองและสังคม

จุดมุ่งหมายของบทเรียนจึงเป็นพื้นฐานที่นักเรียน และประชาชนควรได้เรียนรู้ ในเบื้องต้น เข้าใจถึง สิทธิ หน้าที่ คุณธรรม จริยธรรม และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล เนื้อหาที่สำคัญระดับพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงในการดำรงชีวิตในยุควิถีใหม่

การสร้างบทเรียนออนไลน์ ในรูปแบบ MOOC เป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับนักเรียน และประชาชนทั่วไป เน้นให้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยวางเค้าโครงเนื้อหา เป็นโมดูล ขนาดเล็ก ๆ รวมกันเป็นบท เพื่อเรียนได้ตามเวลาที่มี และเรียนต่อเนื่องได้จนจบหลักสูตร โดยเป้าหมายผู้เรียนตั้งแต่นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และประชาชนทั่วไป โดยผู้เรียนเข้าเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ได้จำนวนมาก ไร้ขอบเขตจำกัด ใช้อุปกรณ์ได้ตั้งแต่สมาร์ทโฟนถึงพีซี เมื่อเรียนจบ จะได้ประกาศนียบัตรดิจิทัล ออกให้ทันที นักเรียนสามารถนำเก็บในแฟ้มสะสมงานของตนเองได้ โดยเทียบผลการเรียนขนาด 0.5 หน่วยกิต หรือเทียบการเรียนการสอนตามตารางเรียนของนักเรียน 8 สัปดาห์ ๆ ละหนึ่งชั่วโมง ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


กำหนดสิทธิ์สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons BY-NC-ND 4.0 สามารถทำซ้ำโดยอ้างอิงถึงแหล่งที่มาโดยห้ามแก้ไขหรือใช้เพื่อการค้า
จัดทำโดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เนื้อหาบทเรียนจัดทำในเดือนกุมภาพันธ์ 2564
นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว